วัวชนภาคใต้ กีฬาที่เป็นมากกว่ากีฬา
การชนวัวเป็นกีฬาพื้นเมืองที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอย่างหนึ่งของชาวภาคใต้ โดยการคัดเลือกเอาวัวที่มีคุณลักษณะและเหมาะสมมาชนกันในสถานที่ที่กำหนด และมีกติกาชัดเจนจนถึงขั้นแพ้ชนะในที่สุด เป็นกีฬาที่ให้ทั้งความสนุกสนานตื่นเต้น และความประทับใจแก่ผู้ชม จึงเป็นที่นิยมของชาวภาคใต้ทั่วไป ตลอดจนชาวภาคอื่นหรือชาวต่างชาติที่ได้มาเห็นและสนใจกีฬาชนิดนี้ ในประเทศอื่นบางประเทศ เช่น ประเทศโคลัมเบีย (ในอเมริการกลาง) ก็นิยมกีฬาประเภทนี้เหมือนกัน แต่ในประเทศไทยเฉพาะในภาคใต้เท่านั้นที่นิยมการชนวัวกันแพร่หลายมาช้านานจนถึงปัจจุบัน จนเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าการชนวัวเป็นกีฬาที่เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของภาคใต้ในระยะแรกของการชนวัว เชื่อว่าคงเอาวัวมาชนกันเล่นเพื่อความสนุกสนานเพียงอย่างเดียว แต่ต่อมาได้มีการพนันขันต่อกันด้วยตามวิสัยของมนุษยชาติ กีฬาชนวัวจึงได้กลายมาเป็นการพนันประเภทหนึ่งขึ้นด้วยเหตุนี้ เมื่อเป็นกีฬาที่มีการพนันแทรกเข้ามาโดยมีการได้เสียกันป็นเงินเรือนหมื่นเรือนแสนทางราชการก็จำเป็นต้องเข้าไปควบคุมการเล่นประเภทนี้ให้เป็นไปตามกฏหมายของบ้านเมืองเพื่อป้องกันมิให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยใด ๆ ขึ้น โดยจัดให้มีบ่อนชนวัวที่ถูกต้องตามกฎหมาย เรียกว่า “สนามชนโค” (โดยทางราชการได้กำหนดให้ขออนุญาตในการตั้งบ่อนและขออนุญาตทุกครั้งที่จะจัดให้มีการชนวัว หรือเรียกกันอย่างสามัญว่า “บ่อนชนวัว” หรือ “บ่อนวัวชน” และเพื่อขจัดความยุติธรรมต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นกับกีฬาชนวัวดังกล่าว ทางสนามชนวัวจึงได้ทำกติกาสำหรับกีฬานี้โดยตรงขึ้น โดยให้ใช้เหมือน ๆ กัน เกือบทุกแห่งในเวลาต่อมา
การชนวัวในจังหวัดทางภาคใต้นั้น ส่วนมากจะไม่จัดให้ตรงกันคือหมุนเวียนกันชนในจังหวัดหรืออำเภอ หรืออำเภอใกล้ๆ กัน เช่น บ่อนหนึ่งชนวันเสาร์ อีกบ่อนหนึ่งชนวันอาทิตย์ หรืออาจจะจัดให้ชนกันแห่งละสัปดาห์ของเดือนหนึ่งๆ ก็มี ทั้งนี้เพื่อให้นักเลงวัวชนได้มีโอกาสได้เล่นพนันกันอย่างทั่วถึง อันเป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้นักเลงวัวชนในจังหวัดภาคใต้ได้รู้จักและคุ้นเคยกันเป็นส่วนมากมีผู้รู้บางท่านให้ความเห็นว่า ชาวไทยภาคใต้น่าจะได้กีฬาประเภทนี้มาจากพวกโปรตุเกส คือในสมัยพระเจ้าเอมมานูเอล แห่งโปรตุเกสได้แต่งฑูตเข้ามาเจริญทางพระราชไมตรีกับไทย ในปี พ.ศ. ๒๐๖๑ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ แห่งกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดีพระองค์นี้ได้ทรงอนุญาติให้ชาวโปรตุเกสเข้ามาทำการค้าขายในเมืองไทย ซึ่งเป็นฝรั่งชาติแรกที่เข้ามาค้าขายกับไทยโดยทางเรือและให้ทำการค้าขายใน ๔ เมือง คือกรุงศรีอยุธยา นครศรีธรรมราช ปัตตานี และมะริด นอกจากทำการค้าขายแล้ว ชาวโปรตุเกสบางพวกยังได้เผยแพร่ขนบธรรมเนียมไว้หลายอย่าง เช่นการติดตลาดนัด การทำเครื่องถม และการชนวัว เป็นต้นการชนวัว มักจัดให้มีขึ้นในงานเทศกาลต่าง ๆ เช่น งานเทศกาลสารทเดือนสิบที่จังหวัดนครศรีธรรมราช หรืองานเฉลิมพระชนมพรรษา (งานฉลองรัฐธรรมนูญเดิม) ที่จังหวัดตรัง เป็นต้น ในช่วงปกติจะชนได้เดือนละ ๑ ครั้งเท่านั้น โดยกำหนดให้ชนได้ในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ สัปดาห์ใดสัปดาห์หนึ่งของเดือน แต่ถ้าวันเสาร์หรือวันอาทิตย์ที่กำหนดไว้นั้นตรงกับวันธรรมสวนะก็ต้องเลื่อนไปชนกันในวันเสาร์หรือวันอาทิตย์อื่นในปัจจุบันจังหวัดในภาคใต้นิยมกีฬาประเภทนี้กันมาก คือ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตรังสงขลา พัทลุง ปัตตานี ยะลา สตูล นราธิวาส ในบางอำเภอของจังหวัดกระบี่ และที่อำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขณะนี้กีฬาวัวชนยังได้แพร่หลายขึ้นไปทางจังหวัดทางภาคเหนือบางจังหวัด คือจังหวัดตาก กำแพงเพชร สุโขทัย และพิษณุโลก แต่ก็ไม่นิยมกันจริงจังเหมือนในจังหวัดภาคใต้วัวที่ใช้ชนเรียกว่าวัวชน นั้นต้องเป็นพันธุ์วัวชนโดยเฉพาะถึงจะดี วัวใช้งานธรรมดา หรือวัวเนื้อไม่ค่อยจะนิยมใช้เป็นวัวชนกันนัก วัวชนต้องเป็นวัวตัวผู้ อายุระหว่าง ๔-๖ ปี ซึ่งเรียกว่า “ถึก” อันเป็นระยะเวลาของอายุเหมาะที่จะชน ถ้าไม่แพ้หลายครั้ง หรือเสียวัวเสียก่อนก็อาจจะชนได้ถึงอายุ ๑๔-๑๕ ปี
วัวชนที่ดีต้องมีคุณสมบัติบางอย่างในการต่อสู้ คือต้องมีน้ำใจทรหดอดทน มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ มีไหวพริบหรือชั้นเชิงในการชนที่ดี ที่เรียกกันว่า “ชนดี ใจดี แรงดี” กับต้องมีลักษณะที่ดีอื่น ๆ อีกหลายอย่างตามความเชื่อ เท่าที่มีผู้กล่าวไว้ในอดีตอาจจะประมวลมากล่าวเฉพาะที่สำคัญได้ดังนี้
ลักษณะของวัวชน
ตาม “ตำราดูลักษณะโค” ซึ่งนายพร้อม รัตโนภาศ เป็นผู้รวบรวมจากหนังสือบุด หรือสมุดข่อยที่พบในจังหวัดนครศรีธรรมราช และได้พิมพ์ในหนังสืองานเดือนสิบประจำปีของจังหวัดนครศรีธรรมราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๗ กล่าวถึงลักษณะของวัวทั่วไปและลักษณะของวัวชนไว้ว่าวัวหรือโคจะดีจะชั่วจะเป็นโภคทรัพย์สิริมงคลหรืออัปรีย์จัญไร ท่านโบราณาจารย์กล่าวว่ามีลักษณะที่จะพึงสังเกตได้อยู่ ๓ ประการ คือ ขวัญ สี หรือชาติพันธุ์และเขา
๑. ขวัญวัว ขวัญวัวจะมีลักษณะของขวัญที่เป็นอยู่ตามตัววัวนั้น โบราณาจารน์ท่านบรรยายไว้ดังนี้ คือ
๑.๑ ขวัญที่เรียกว่า “ขวัญเดิม” คือเป็นขวัญอยู่ตรงหน้าผาก ขวัญนี้ไม่ดีไม่ชั่ว
๑.๒ ขวัญที่เรียกว่า “สูบสมุทร” นั้นอยู่เบื้องบนและตรงกับจมูก (แต่ไม่ถึงหน้าผาก) ขวัญนี้ท่านว่าร้ายนัก วัวตัวใดมีขวัญชนิดนี้ท่านห้ามมิให้เลี้ยงรักษา จะนำความเดือนร้อนมาให้
๑.๓ ขวัญที่อยุ่ตรงขากรรไกรนั้นดีควรเลี้ยงไว้
๑.๔ ขวัญที่เรียกว่า “ทูนเพลิง” คืออยู่ใต้ตา วัวซึ่งมีขวัญชนิดนี้ท่านว่าร้านนักประดุจไฟ ตำราห้ามมิให้แสวงหามาเลี้ยง
๑.๕ ขวัญที่เรียกว่า “คาบแก้ว” คือขวัญที่อยู่ใต้คางวัวซึ่งมีขวัญชนิดนี้ท่านว่าดี นัก เลี้ยงไว้ไม่มีโทษเลย
๑.๖ ขวัญที่เรียกว่า “ทูนข้าวปลา” คืออยู่ระหว่างเขาทั้งสอง วัวซึ่งมีขวัญชนิด นี้คืออยู่ระหว่างหางพาดกับทวาร ขวัญนี้ดีจะสมบูรณ์ ไปด้วยทรัพย์ศฤงคาร
๑.๗ ขวัญที่เรียกว่า “สำเภาพัง” คือขวัญที่เป็นอยู่ที่หัวขาหลัง ขวัญนี้ร้ายนัก ทำให้อายุสั้น และเสื่อมทรัพย์สมบัติ
๑.๘ ขวัญที่อยู่ตรงกับที่รับอุจจาระ ไม่ดีดุจกันคืออยู่ระหว่างหางพาดกับทวาร ขวัญนี้ดีจะสมบูรณ์ ไปด้วยทรัพย์ศฤงคาร
๑.๙ ขวัญที่เรียกว่า “ปัดหล่อม” อยู่ในวงหางเมื่อเวลาปัดหางหรือสะบัดหาง คือถัดจากขวัญที่เรียกว่า “ปัดขะจาย” เข้ามาขวัญนี้ดีพอประมาณ
๑.๑๐ ขวัญที่เรียกว่า “สำเภารั่ว” คือขวัญทที่อยู่ตรงปลายลึงค์ ขวัญชนิดนี้ร้ายนักประดุจกับสำเภาที่รั่วน้ำ ทรัพย์สมบัติจะอันตรธานหายไปโดยมิรู้ตัว
๑.๑๑ ขวัญที่เรียกว่า “สำเภาในอู่” คือขวัญที่อยู่โคนลึงค์ ขวัญนี้แต่ไม่รวยทรัพย
๑.๑๒ ขวัญที่อยู่ที่แข้งดีจะคุ้มกันทรัพย์สมบัติมิให้เสื่อมสูญ
๑.๑๓ ขวัญที่เรียกว่า “ปราบทวีป” คือขวัญที่อยู่ใต้กีบขวัญขวัญนี้อุดมไปด้วยทรัพย์สมบัต
๑.๑๒ ขวัญที่เรียกว่า “ขุมทอง” คือขวัญที่เป็นอยู่โคนกีบไม่ว่าหน้า หลัง ขวาหรือซ้าย ท่านว่าดีนัก
ติดตามข่าวสารวงการวัวชน ได้ที่ เพจวัวชน
กลุ่มทีเด็ดวัวชน @wuachonth
คลิปวัวชน ไฮไลท์วัวชน
ทีเด็ดวัวชน ช่องวัวชน
รับชมถ่ายทอดสดการแข่งขันวัวชน เว็บวัวชน